หลายปีมานี้เราคงได้ยินเทคนิคการเทรดแบบ Smart Money Concept หรือ SMC ถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็คือ การซื้อขายของกองทุน และธนาคารต่างๆ หรือเราจะเรียกว่าผู้ซื้อรายใหญ่ในตลาด แต่ในบทความนี้พี่หมีจะไม่ได้มาสอนเกี่ยวกับ SMC แต่จะดึงเทคนนิคที่สำคัญของ SMC เทคนิคนึงมาแนะนำพวกเราก็คือเทคนิคที่เรียกว่า Order Block และ Rejection Block
Order Block และ Rejection Block คืออะไร
อธิบายง่ายๆ ก็คือการวางคำสั่งซื้อหรือขายก็ได้ โดยสถาบันขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารหรือกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อตลาด บริเวณแนวรับหรือแนวต้านที่แข็งแกร่ง หรือ swing high และswing low ที่มีการ Side way ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของโครงสร้างราคา (price structure) ตามแนวคิดของ dow theory ซึ่งจะสังเกตพฤติกรรม 2 รูปแบบ คือ BOS: Break of Structure และ CHoCH: Change of Character โดยการระบุการบล็อกคำสั่ง ผู้ค้าสามารถคาดการณ์การกลับตัวของแนวโน้มหรือการ Break out กรอบ Side way และทำการตัดสินใจในการซื้อขาย
ลักษณะของ Order Block และ Rejection Block
Order Block และ Rejection Block ซึ่งส่วนตัวพี่หมีจะมองหา Order Block และ Rejection Block จากโครงสร้างราคาที่มีการทำ swing high และswing low ซึ่งเราจะเรียดจุดนี้ว่า Order Block และ Rejection Block แบบ Premium ซึ่งจะเกิดในลักษณะการเคลื่อนที่ของ price pattern ของ Demand and Supply Zone ก็คือ RBR, RBD, DBD และ DBR
Order Block
คือบริเวณที่เบรกกรอบ Sideway โดยจะพิจารณาจากเนื้อเทียนที่มีกี่ทำ bullish engulfing และbearish engulfing ก็คือมีลักษณะของการกลืนกินแท่งเทียนก่อนหน้า และเบรกกรอบ SW ออกมาได้
Rejection Block
จุดที่เกิดจะเป็นบริเวณเดียวกับที่เกิด Order Block แต่จะพิจารณาต่างกัน โดย Rejection Block จะมองในส่วนของไส้เทียนที่มีการ Break out กรอบ SW ก่อนที่จะเกิดการ Rejection กลับลงมาก่อนที่จะมีแท่งเทียน Break out กรอบ SW
Order Block และ Rejection Block ใช้งานอย่างไร?
การสร้างบล็อกคำสั่งทำงานโดยจะมองจากความไม่สมดุลของอุปสงค์ และอุปทานในตลาด (imbalance) เมื่อมีคำสั่งซื้อหรือขายจำนวนมากที่ระดับราคาเฉพาะ จะทำให้เกิดการ Side way และสร้างแนวรับหรือแนวต้านที่มีนัยสำคัญ ซึ่งหมายความว่าหากตลาดไปถึงระดับราคานั้นอีกครั้ง มันมีแนวโน้มที่จะเด้งออกจากราคา และเคลื่อนตัวไปในทิศทางตรงกันข้าม แล้วเราจะหา Order Block และ Rejection Block ได้ยังไง ถ้าจะสรุปง่ายๆ สามารถสรุปได้ 2 ข้อคือ
- มองหากลุ่มของแท่งเทียน หรือการ Side way – บล็อกคำสั่งมักจะปรากฏเป็นกลุ่มของแท่งเทียนบนกราฟราคา ทั้งขาขึ้นหรือขาลง ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของคำสั่งซื้อหรือขาย
- การระบุระดับราคาที่มีนัยสำคัญ – บล็อกคำสั่งมักพบที่ระดับราคาที่มีนัยสำคัญ เช่น จุดสูงสุดหรือต่ำสุดก่อนหน้า
ตัวอย่าง Trade Setup โดยใช้ Order Block
จากรูปเป็นกราฟราคา XAUUSD ในวันศุกร์ที่ 2/6/66 ที่มีการประกาศตัวเลขนอกภาคการเกษตร ถ้าเรามองวันนั้นในส่วนของ TF Day ซึ่งเป็นเทรนด์หลักเป็นลักษณะของเทรนด์ขาขึ้น โดยราคาได้ลงมาทำการทดสอบเทรนด์ไลน์ และบริเวณแนวรับ 1934.571 ก่อนที่ราคาจะเด้งกับขึ้นไป โดยมีแนวต้านสำคัญคือ 1983.277
ในส่วนของ TF H4 ได้สร้างเทรนด์รองเป็นเทรนด์ขาลง และราคาได้ทำการ SW บริเวณที่เกิด Order Block ที่เป็น Swing High ของ TF H4 (Zone Premium) ซึ่งถ้าราคา Break out ขึ้นไปได้ TF H4 จะเป็นการสินสุดการสร้างเทรนด์ขาลงทันที เมื่อเกิดลักษณะแบบนี้สิ่งที่เรามองกรามีโอกาสเกิดได้ 2 ลักษณะคือ RBR และ RBD ซึ่งจะเข้า Sell ใน Zone บริเวณนี้ก็ได้ หรือจะรอให้ราคา Break out จาก Zone SW ใน TF ที่เล็กลงก็ได้
ใน TF H1 นั้น SW เหมือน TF H4 เราจะรอให้กราฟนั้น Break out จากกรอบ SW ก็ได้หรือเราจะ Sell ใน Zone Order Block ก็ได้ ในวันนั้นสัญญาณเทรดที่พี่หมีให้คือรอให้จบ 20:00 น. คือรอให้หลังตัวเลข NFP ออก ปรากฏว่าราคาทำ PA Sell ในรูปแบบ RBD คือสามารถ Break out จาก Zone SW ได้ เราก็รอกราฟย้อนใกล้บริเวณกรอบ SW ให้มากที่สุด
ตัวอย่าง Trade Setup โดยใช้ Rejection Block
อันนี้จะใช้หลายเทคนิคเข้ามาประกอบกันนิดนึง จากรูปใน TF Day เห็นได้ชัดว่าราคาเทรนด์หลักเป็นลักษณะของเทรนด์ขาลง แต่กราฟไม่สามารถที่จะผ่าน Lower Low ได้ ซึ่งการลงทดสอบครั้งที่ 2 ได้สร้างในส่วนของ Rejection Block เอาไว้ ซึ่งถ้าเทรดแบบไม่ขึ้นอะไรมากเราก็สารมารถเข้า Buy ตอนที่กราฟลงมาใน Zone Rejection Block ได้เลย เพราะก่อนหน้านั้น TF Day ได้สร้าง Chart pattern ที่เป็นในลักษณะของ Double Bottom เอาไว้แล้ว ซึ่งถ้าไม่ผ่านจะกลายเป็นลักษณะของ Triple Bottom และ RSI จะสร้างในลักษณะที่เราเรียกว่า 3 divergent ถ้าเราเทรดในรูปแบบของ Swing Trade เราก็รอให้ TF Day จบแท่งแล้วเข้า Buy SL ที่ Low เดิม
Trade Setup TF H1 เมื่อ H1 เกิด PA Buy รอกราฟย้อนแล้วเข้า Buy จุดเฝ้าระวังสำหรับ Day Trade บริเวณ 1639.622 ซึ่งเป็น Swing High ของ TF H1 หากสามารถผ่านได้จะเป็นการทำลายโครงสรา้งราคาของ TF H1 (ChoCh)
เกี่ยวกับเรา
Beartrade สังคมแห่งการแบ่งปันรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการเทรด ด้านเทคนิค ปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การใช้ Indicator สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในตลาด Forex ซึ่งเป็นตลาดที่จ่ายเงินตามความรู้ที่คุณมี
พี่หมีหนีงานไปเทรด Forex (Beartrade) ไม่มีนโยบายในการระดมทุน ไม่รับฝากเทรด และการวิเคราะห์ความคิดเห็นส่วนบุคคล มิได้เป็นการชักชวนการลงทุน “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”