สภาวะสงครามอิสราเอล กระดูกชิ้นโตขวางการลดเงินเฟ้อสหรัฐ

หลังจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้องของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ มิ.ย. 65 ที่สูงถึง 8.2% FED ก็ใช้มาตรการดอกเบี้ย เพื่อลดเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลา 10 เดือน ในการลดเงินเฟ้อมาอยู่ในระดับ 3.0 % ในเดือน ก.ค. 66 ซึ่งก็ยังห่างไกลกลับเป้าหมายของ FED ที่ 2%  โดยในการประชุม FOMC Statement ในวันที่ 21  ก.ย. ที่ผ่านมา FED มีนโยบายในการคงดอกเบี้ย 5.5% ซึ่งในการประชุมได้ระบุไว้ว่าจะมีการเพิ่มดอกเบี้ยอย่างน้อยอีก 1 ครั้ง และการลดดอกเบี้ยในปีหน้านั้นจะลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงจาก 1947.068 ลงมาทำราคาต่ำสุดที่ 1810.253

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลดเงินเฟ้อของสหรัฐเจองานที่ยากลำบากส่วนหนึ่งมาจากราคา “น้ำมัน” โดยในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันทำราคาสูงสุด 93.959 ดอลลาร์/บาร์เรล อันเนื่องมาจากการลดกำลังการผลิตของ ซาอุดีอาระเบีย ขยายการลดกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี รวมถึงรัสเซียยังตอบรับนโยบาบายดังกล่าว โดยลำกำลังการผลิต 300,000 บาร์เรล/วันไปจนถึงสิ้นปีนี้เช่นกัน ซึ่งการลดปริมาณการผลิตมันก็ส่งผลกระทมบโดยตรงกับ Demand และ Supply การที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นผลกระทบโดยตรงที่ส่งต่ออุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบทั้ง Supply Chain เมื่อเป็นแบบนี้ราคาสินค้าจะปรับตัวถูกลงได้ยังไง ทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังวส่งผลต่ออัตราค่าแรงที่เกิดขึ้น โดยหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานเมื่อคืนวันศุกร์ (6 ต.ค.) โดยอ้างเจ้าหน้าที่สหรัฐและซาอุดีอาระเบียว่า ซาอุดีอาระเบียได้แจ้งกับทางทำเนียบขาวของสหรัฐว่า ซาอุดีอาระเบียยินดีที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมันในปีหน้า หากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อแสดงถึงความปรารถนาดีต่อสหรัฐ  ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้มีขึ้น ในขณะที่มีการทำข้อตกลงฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและซาอุดีอาระเบียโดยมีสหรัฐเป็นคนกลาง และจะรวมไปถึงการทำสนธิสัญญาป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียด้วย

แต่ถ้าว่าสิ่งที่ FED ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ประกาศว่า ตอนนี้เราอยู่ในภาวะสงคราม และรับปากว่า จะตอบโต้กลับอย่างรุนแรง หลังถูกกลุ่มติดอาวุธฮามาสโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัว หลังจากกลุ่มฮามัสยิ่งจรวดโจมตีกว่า 2,000 ลูก เมื่อมองผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะกระทบจากสงครามหากมีการสู้รบที่ยืดเยื้อ ก็คือการส่งออกของอิสราเอล นอกจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า ธาตุทองแดง ฟอสเฟต โบรมีน แต่สินค้าที่กระทบหนักสุดคือ “ก๊าซธรรมชาติ” และ “น้ำมัน”  โดยตลาดที่ส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร นอกจานั้นต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานของอิสาเอล เปิดเผยว่า อิสราเอล เตรียมทำข้อตกลงส่งออกก๊าซธรรมชาติให้กับสหภาพยุโรป หรือ อียู ในวันนี้ ระหว่างการประชุมด้านพลังงานระดับภูมิภาค ที่กรุงไคโร ประเทศอิยิปต์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่อิสราเอลส่งออกก๊าซไปยังยุโรป โดยก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะถูกส่งจากอิสราเอลไปยังโรงงานแปรสภาพก๊าซให้เป็นของเหลวในอิยิปต์ ก่อนจะส่งไปยังตลาดในยุโรป เพื่อลดการนำเข้าจากรัสเซีย…. งานนี้หากสงครมยืดเยื้อจับตาดูยุโรป อละสหรัฐจะทำยังไงต่อ หลังจากตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในวันที่ 12 ตุลาคม 66 คาดการณ์ 3.6% ต่ำกว่าเดือนที่แล้วที่ประกาศมา 3.7% จะพักก่อน หรือจะปรับต่อเลยคงต้องจับตารายงานการประชุม FOMC Meeting Minutes ในวันเดียวกัน