วิเคราะห์กราฟตลาดทองคำ 13 มิ.ย. 66

ทองคำยังคง Sideway อยู่ในกรอบ รอตัวเลขเงินเฟ้อคืนนี้ 19:30 น. เพื่อเป็นปัจจัยด้านการหนดนโยบายดอกเบี้ยของ FED ด้านกองทุน SPDR มีการขายออก 0.32 ตัน ที่ราคา 1957.45$ ปริมาณการถือครองล่าสุด 931.44 ตัน ราคาทองคำปรับตัวลดลงในวันจันทร์เนื่องจากเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ผู้ค้าเตรียมรับมือกับสัปดาห์ที่ยุ่งเหยิงจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐและการประชุมนโยบายของธนาคารกลางที่สำคัญ โดยทุกสายตาจับจ้องไปที่ธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งตอนนี้ราคาทองคำยังคง Sideway ในกรอบ  1934.385 – 1983.060

ราคาทองคำปรับตัวลงเล็กน้อย 0.4% ปิดลงที่ $1,969.70 ตลาดคาดการณ์ว่ามีโอกาส 76% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม และมีโอกาส 71% ที่เฟดจะปรับขึ้นในเดือนกรกฎาคม ตามเครื่องมือ Fedwatch ของ CME ประเด็นน่าจับตามองธนาคารกลางยุโรปและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ตามลำดับ

รายงานเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญอื่น ๆ ที่ออกในสัปดาห์นี้ก่อนที่ FED จะประกาศนโยบายดอกเบี้ยมีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าสนใจ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตสำหรับเดือนพฤษภาคมในวันอังคารและวันพุธตามลำดับ คาดการณ์ว่า CPI จะเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี และตัวเลขเงินเฟ้อ ปัจจุบันอยู่ที่ 4.9% ตัวเลขคาดการณ์ 4.1% ซึ่งถ้าดูจากทางเทคนิคจะเห็นว่าในกรอบ TF H1 ทำรูปแบบ Symmetrical triangle Trend หรือจะมองในลักษณะของ head and shoulder pattern อันนี้ก็แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมันนะครับ

ด้านมาร์ค แซนดิ นักวิเคราะห์จากมูดี้ส์ อนาไลติกส์กล่าวว่า ดัชนี CPI เดือนพ.ค.ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงนั้น จะสนับสนุนมุมมองของคณะกรรมการเฟดที่ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐกำลังอยู่ในทิศทางที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของเฟด หลังจากที่ดัชนี CPI พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดที่เหนือระดับ 9% ในเดือนมิ.ย. 2565 หลังจากเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 ซึ่งหลังจากนั้นเงินเฟ้อก็เริ่มชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เงินเฟ้อของสหรัฐในขณะนี้ยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายที่ระดับ 2% ของเฟด นายแซนดิเชื่อว่า ดัชนี CPI ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ จะชะลอตัวลงมากพอที่จะทำให้คณะกรรมการเฟดตัดสินใจระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้ เนื่องจากเฟดเองก็รอดูข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินในระยะยาว