นโยบายดอกเบี้ย 4 ธนาคารใหญ่!!!

ระหว่าวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 นอกจากการประชุมธนาคารสหรัฐ (FED) FOMC Economic Projections  ยังมีอีก 3 ธนาคารใหญ่ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีก 3 ธนาคาร ECB, BOJ และ BOE เรียกได้ว่า week นี้น่าจะมีผันผวนกันสูงในตลาดการลงทุน ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ หรือ ถ้าจับมือกันชะลอก็น่าจะบันเทิง

Federal Reserve Board (FED) ธนาคารกลางสหรัฐมีกำหนดประชุมนโนบายทางด้านดอกเบี้ย FOMC Economic Projections ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 01:00 น. ตามเวลาของประเทศไทย นักลงทุนเทน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า FED จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ จากปัจจัยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน (Unemployment Claims) ในวันพฤหัสที่ 8 มิถุนายน 2566 โดยผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน 261K จากตัวเลขที่คาดการณ์ 236K และตัวเลขที่ประกาศในสัปดาห์ที่แล้ว 233K ส่งผลให้วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐ 3 ตลาด ปรับตัวขึ้น ดัชนีดสน์โจนส์ ดาวโจนส์ปิดสูงกว่า 40 จุด S&P 500 เพิ่ม 0.1% ต่ำ และ Nasdaq ขยับขึ้น 0.1% แต่ถ้าเราดูจากราคาทองคำยังคง Sideway ในกรอบ 1931 – 1984$ ถ้ามุมมองส่วนตัวมองว่าเป็นการที่ตลาดพาเล่นแค่นั้นเอง เราลองดูวันที่มีการประกาศตัวเลข CPI ครับ ว่าจะสามารถเบรกกรอบ Sideway ให้เห็นทอศทางที่ชัดเจนได้หรือเปล่า ตัวเลขคาดการณ์ดอกเบี้ย 5.25% ซึ่งเท่ากับการประกาศในเดือนพฤษภาคม

European Central Bank (ECD) ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในระหว่างการประชุมเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณถึงการชะลอการคุมเข้มนโยบาย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการกู้ยืมได้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเจ็ดอัตรา เนื่องจาก ECB พยายามที่จะต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรเพิ่มขึ้นเป็น 7% ในเดือนเมษายน โดยอัตราหลักยังคงใกล้เคียงกับระดับสูงสุดตลอดกาลในเดือนมีนาคมที่ 5.6% อัตราดอกเบี้ยของการดำเนินการรีไฟแนนซ์หลัก ด้านนางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB กล่าวว่า ECB จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวลงสู่เป้าหมาย 2% ของ ECB จากผลการสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ พบว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง ก่อนที่จะพักการดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้

Bank of England (BOE) ธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยธนาคาร 25bps เป็น 4.5% ในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 12 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ต้นทุนการกู้ยืมขณะนี้อยู่ที่ระดับสูงสุดใหม่ซึ่งไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากธนาคารกลางยังคงต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขสองหลัก ธนาคารกลางมองว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 5.1% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 เทียบกับ 3.9% ในการคาดการณ์เดือนกุมภาพันธ์ และจะบรรลุเป้าหมาย 2% ภายในปลายปี 2024 มาตรการงบประมาณของรัฐบาลที่ร่างไว้ในเดือนมีนาคมคาดว่าจะเพิ่ม 0.5% ให้กับ GDP ซึ่งสูงกว่า 0.3% ที่เห็นในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้กำหนดนโยบายกล่าวเสริมว่าจะยังคงติดตามข้อบ่งชี้อย่างใกล้ชิดถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง รวมถึงสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวและพฤติกรรมการเติบโตของค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อของราคาบริการ หากมีหลักฐานบ่งชี้ถึงแรงกดดันที่ยืดเยื้อมากขึ้น ก็คงต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น

Bank of Japan (BOJ)  หลังจากนาย คาซูโอะ อุเอดะ ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และอดีตสมาชิกคณะกรรมการนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น นั่งเก้าอี้ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นคนใหม่ ก็เริ่มต้นนโยบายดอกเบี้ย
 -0.1% (ดอกเบี้ยติดลบ ฝากเงินธนาคารคือเสียเงินให้แบงค์นะครับ) และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีไว้ที่ระดับ 0% ซึ่งในการประชุมวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 คาดการณ์ว่า BOJ จะยังคงไม่ปรับดอกเบี้ย ยังใช้อัตราดอกเบี้ยที่ประกาศในเดือนที่แล้ว -0.1%